วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

วิชาการศึกษา


แนวคิดของนักการศึกษา
เปสตาลอสซี่                         เด็กมีความแตกต่างระหว่างบุคคล
เฟรอเบล                               เด็กจะพัฒนาดีจากการเล่น
มอนเตสซอรี่                        การฝึกประสาทสัมผัสทั้ง  5
ดิวอี้,เพียเจท์                         เรียนรู้จากการกระทำ,ประสบการณ์ตรง
อิริคสัน                                  สภาพแวดล้อมมีผลต่อ       การพัฒนาบุคลิกของเด็กในอนาคต
เดวิด เอลไคน์                       การเร่งให้เด็กเรียนเป็นอันตรายยิ่งนัก
จอห์น ล็อก,รุสโซ               เด็กเปรียบเสมียนผ้าขาว
วอลดอร์ฟ                             เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากการเลียนแบบ
นีโอ-ฮิวแมนนิส                  เด็กเปรียบเสมือนไม้ไผ่อ่อนที่ดัดได้
เกสตัสท์                                มองส่วนรวมแล้วค่อยแยกส่วนย่อย
คอมินิอุส                               -จุดมุ่งหมายของการศึกษาควรอยู่ที่ความรู้ ศีลธรรม และ ศรัทธา
                                                -ควรสอนเด็กให้รู้ทุกอย่าง  แต่ไม่ใช่จะต้องเก่งทุกคน เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล
รุสโซ                                     เน้นการสอนแบบธรรมชาติ
แฮร์บาร์ต                                 เน้นการเตรียมเด็กให้เข้ากับแบบแผนของสังคม จึงไม่เน้นในความรู้ แต่เน้นพัฒนาการทางบุคลิก
คิลแพตทริก                          เสนอวิธีสอนแบบโครงการ
บรูเนอร์                                 เสนอวิธีสอนแบบค้นพบด้วยตนเอง
เพียเจท์                                  สติปัญญาไม่ใช่สิ่งที่มีคุณภาพหรือปริมาณคงที่ตั้งแต่เกิด แต่เป็นไปในรูปของการปรับ จนเกิดความสมดุลกระบวนการของการปรับอาศัยการดูดซึมและการปรับความแตกต่าง

บิดาในวงการศึกษา
บิดาของการอนุบาลศึกษา                  วิลเฮม เฟรอเบล
บิดาแห่งจิตวิทยา                                 ซิกมุนด์ ฟรอยด์
บิดาแห่งจิตวิทยาวิเคราะห์                 ซิกมุนด์ ฟรอยด์
บิดาแห่งการแนะแนว                        แฟรงค์ พาร์สัน
บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง             วิลเลี่ยม  วุ้นท์
บิดาแห่งสติปัญญา(เชาว์ปัญญา)     อัลเฟรด  บิเนต์
บิดาแห่งพฤติกรรม                             วัตสัน
บิดาแห่งแผนใหม่                               วัตสัน
บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา                ธอร์นไดค์





ความหมายของ”การศึกษา”
พรบ.การศึกษาแห่งชาติ                     กระบวนการเรียนรู้เพื่อความ
                                                                เจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
อริสโตเติ้ล                                            การีฝึกอบรมจริยธรรมและการเสริมสร้างสติปัญญา
จอห์น ดิวอี้                                           การศึกษา คือ ชีวิต Education is life
                                                                การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม Education is Growth
                                                                การศึกษา คือ กระบวนการทางสังคม Education is Social Process
                                                                การศึกษา คือ การสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต Education is Experience
รุสโซ                                                     การนำเอาศักยภาพในตัวบุคคลไปใช้ให้เกิดประโยชน์
นิล                                                          การศึกษาเป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต
คาร์เตอร์ วี. กู๊ด                                    ขบวนการทั้งมวลที่มุ่งให้บุคคลเกิดการพัฒนาความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดคุณค่าต่อสังคมที่ผู้นั้นอาศัยอยู่
ชุ้ลซ์                                                       การศึกษา เป็น การลงทุน Education is investment
พระราชวรมุนี                                     การศึกษา มาจาก สิกขา แปลว่า การแสวงหาวิชชา  หรือ ความรู้แจ้ง(ปัญญา)
ศ.สาโรช  บัวศรี                                  การศึกษา คือ ความเจริญงอกงามของขันธ์ 5 เพื่อว่าอกุศลมูลจะได้เบาบางลง








นักจิตวิทยาการเรียนรู้
พาฟลอฟ                                              (ทฤษฎีวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค)
วัตสัน                                                   (ทฤษฎีวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ...วัตสัน)
ธอร์นไดค์                                             (ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง)
สกินเนอร์                                             (ทฤษฎีวางเงื่อนไขแบบการกระทำ)
กลุ่มเกสตัล                                          (เรียนรู้จากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย)
โคลเลอร์                                               (การหยั่งเห็น)
เลอวิน                                                   (ทฤษฎีสนาม)







ธอร์นไดค์  Edward L.Thorndikn
o   บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา
o   ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง
o   การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
o   กฎการเรียนรู้
กฎการเรียนรู้ ของ ธอร์นไดค์   3 กฎ
Ø กฎแห่งความพร้อม(Law of Readiness)
Ø กฎแห่งการฝึกหัด(Law of Exercise)
Ø กฎแห่งความพอใจ(Law of Effect)
นำไปใช้ในการเรียนการสอน
ü การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
ü ควรสอนเมื่อมีความพร้อม
ü สร้างบรรยาการให้เด็กอยากเรียน
ü จัดให้เด็กได้รับความสำเร็จในการเรียน
ü ให้เด็กฝึกฝนและทำกิจกรรมนั้นซ้ำอีก
ü การให้รางวัล
มาสโลว์
ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
§  ความต้องการทางด้านร่างกาย
§  ความต้องการมั่นคงปลอดภัย
§  ความต้องการติดต่อสัมพันธ์
§  ความต้องการยกย่องนับถือจากผู้อื่น
§  ความต้องการใช้ความสามารถของตนให้เป็นประโยชน์มากที่สุด


เกสตัลท์
v การเรียนรู้เกิดจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
v การเรียนรู้ คือ การแก้ปัญหา
v การเรียนรู้เกิดจากการหยั่งเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ






Six thiking hats(หมวก 6 ใบ)
1)            หมวกสีขาว   คิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริง/ไม่ใช้อารมณ์/คิดเป็นกลาง แสดงถึง ทิศทางความคิดที่เป็นกลาง( เรามีข้อมูลอะไรบ้าง)
2)            หมวกสีแดง   คิดเชิงอารมณ์/ความรู้สึก แสดงถึง อารมณ์ ความโกรธ( เรารู้สึกอย่างไร)
3)            หมวกสีดำ  คิดหาข้อบกพร่องและจุดอ่อน  แสดงถึง ความมืดครื้ม (อะไรคือจุดอ่อน)
4)            หมวกสีเหลือง  คิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี  ความสว่างไสว(จุดที่ดีคืออะไร)
5)            หมวกสีเขียว  คิดสร้างสรรค์  ความเจริญเติบโต(นำความคิดไปพัฒนาอะไรได้)
6)            หมวกสีฟ้า  การควบคุมและบริหารกระบวนการคิด(มักเป็นบทบาทของหัวหน้า) แสดงถึงความเยือกเย็น (ขั้นต่อไปคืออะไร)
  

แสงสุดท้าย

อบรมการยกระดับผลสัมฤทธิ์ กลุ่มสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สพป.สมุทรปราการ เขต 2