วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2557

กฎหมายเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการ


กฎหมายเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชกา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ฉบับที่ ๑        ให้ไว้              ๑๔  สิงหาคม  ๒๕๔๒
                        ประกาศ          ๑๙  สิงหาคม  ๒๕๔๒
                        บังคับใช้        ๒๐  สิงหาคม  ๒๕๔๒
                ผู้รับสนอง  นายชวน  หลีกภัย

ฉบับที่ ๒       ประกาศ         ๑๙  ธันวาคม  ๒๕๔๕
                        บังคับ             ๒๐  ธันวาคม  ๒๕๔๕
                ผู้รับสนอง  พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ  ชินวัตร

ฉบับที่ ๓        ประกาศ         ๒๒  กรกฎาคม  ๒๕๕๓
                        บังคับ             ๒๓  กรกฎาคม  ๒๕๕๓
            ผู้รับสนอง  นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

มีทั้งหมด    หมวด  ๗๘  มาตรา
            หมวด ๑  บททั่วไป (ความมุ่งหมายและหลักการ)
            หมวด ๒ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
            หมวด ๓ ระบบการศึกษา
            หมวด ๔ แนวการจัดการศึกษา
            หมวด ๕ การบริการและการจัดการศึกษา
            หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
            หมวด ๗ ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
            หมวด ๘ ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
                หมวด ๙ เทคโนโลยีการศึกษา
           

            ม.๔ ความหมายที่ควรทราบ
            การศึกษา  หมายความว่า  กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม
            การศึกษาขั้นพื้นฐาน  หมายความว่า  การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
            การศึกษาตลอดชีวิต  หมายความว่า  การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาระหว่างการการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต
            มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์ และมาตรฐาน ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุแห่ง และเพื่อให้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
            ผู้สอน  หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
                ครู  หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
            คณาจารย์  หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
            ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
            ผู้บริหารการศึกษา  หมายความว่า  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
 บุคลากรทางการศึกษา  หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษา


หมวด ๑ ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษา
            ม.๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อ พัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (เป็นปรัชญาการศึกษาไทย)

            ม.๘ หลักการจัดการศึกษา
            ๑. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
            ๒. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
            ๓. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

            ม.๙ การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา
            ๑. มีเอกภาพด้านนโยบาย มีความหลากหลายในการปฏิบัติ
            ๒. มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
            ๓. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท

หมวด ๒ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
            ม.๑๐ การจัดการศึกษาบุคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
( ม. ๔๙ รัฐธรรมนูญ)
            บุคคลที่มีความบกพร่อง     จัดเป็น  พิเศษ
            คนพิการ                                จัดตั้งแต่แรกเกิด หรือ พบความพิการ
            บุคคลที่มีความสามารถพิเศษ  จัดให้เหมาะสม
            ม.๑๑ บิดา มารดา ผู้ปกครอง มีหน้าที่ จัดให้บุตรหรือบุคคลในความดูแล รับการศึกษาภาคบังคับ
            ม. ๑๒ บุคคล ครอบครัว สถานประกอบการ มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
            ม.๑๓ บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีสิทธิ ได้รับประโยชน์
            การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบบรมเลี้ยงดู
            เงินอุดหนุนจากรัฐ
            การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี

หมวด ๓ ระบบการศึกษา
            ม.๑๕ การจัดการศึกษามี ๓ รูปแบบ
            การศึกษาในระบบ   (Formal Education)  เป็นการศึกษาที่กำหนด จุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา  ที่แน่นอน
            การศึกษานอกระบบ  (Non- Formal Education)  มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
            การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
            ม.๑๖ การจัดการศึกษาในระบบ มี ๒ ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
            การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา
            ม.๑๗ ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก  ***เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ***

หมวด ๔ แนวทางจัดการศึกษา
            ม.๒๒ การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ

            ม.๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ ตามความเหมาะสมของแต่ระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
            ๑. ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับครอบครัว ได้แก่ ครอบครัว ชุมชนชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครอง
            ๒.ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัด การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
            ๓. ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
            ๔. ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
            ๕.ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

            ม.๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาดำเนินการ ดังต่อไปนี้
            ๑. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึง ความแตกต่างระหว่างบุคคล
            ๒. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการ และการประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
            ๓. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
            ๔. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสาน สาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
            ๕. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
            ๖. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

            ม.๒๕ แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

            ม.๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจาก พัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู้ไปในกระบวนการเรียนการสอน

            ม. ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
            ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตร

            ม.๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการวิจัยการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับของการศึกษา

หมวด ๕ การบริหารและการจัดการศึกษา
            ม. ๓๒ การจัดระเบียบบริหารราชการกระทรวงที่มีองค์กรหลักที่เป็นคณะบุคคลใน
รูปสภาหรือคณะกรรมการจำนวนสี่องค์กรได้แก่ สภาการศึกษา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  คณะกรรมการการอาชีวศึกษา  และคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี

            ม.๓๓ สภาการศึกษา  ( ไม่เกิน  ๕๙ คน ) มีหน้าที่
           
            ม.๓๔ คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย และแผนพัฒนามาตรฐานและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนกาศึกษาไทย
(มีจำนวนไม่เกิน ๒๗ คน)

            ม. ๓๖ ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล
           
            ม. ๓๗ การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา
โดยคำนึงถึง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ปริมาณสถานศึกษา  จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นๆ
            ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
            (ปัจจุบัน ๒๒๕ เขต มัธยม  ๔๒ เขต  ประถม  ๑๘๓ เขต กรุงเทพมีการยุบรวมเขตพื้นที่เหลือเพียงเขตเดียว  สกลนครมีการเปลี่ยนแปลงอำเภอในการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษา)

            ม. ๓๘ ให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษามีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ประถม  ๑๗  คน) (มัธยม  ๑๕  คน ) เพราะมัธยมไม่มีโรงเรียนเอกชน

            ม. ๓๙ ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้ง
 ด้านวิชาการ  งบประมาณ  การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป  ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง

            ม.๔๐  ให้มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
            (สถานศึกษาขนาดเล็ก นักเรียนไม่เกิน  ๓๐๐  คน  มีคณะกรรมการ    คน)
            (สถานศึกษาขนาดใหญ่ นักเรียนเกินกว่า ๓๐๐ คน ขึ้นไป มีคระกรรมการ ๑๕ คน)

            ม. ๔๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับ

            ม.๔๕ให้สถานศึกษาเอกชนจัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบและทุกประเภท



หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
            ม.๔๗ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย  ระบบการประกันคุณภาพภายใน และ
ระบบการประกันคุณภาพภายนอก

            ม.๔๘ ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มี  ระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก

            ม. ๔๙ ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)  มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่  พัฒนาเกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก  และ ทำการประเมินผลการจัดการศึกษา  เพื่อให้มี การตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึง ความมุ่งหมายและหลักและแนวการจัดการศึกษา ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่ง  อย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี

            ม. ๕๑ ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้มาตรฐานที่กำหนด ให้ สมศ. จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการ ให้ สมศ. รายงานต่อ กพฐ.

หมวด ๗ ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
            ม. ๕๓ ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา มีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารงานของสภาวิชาชีพ ในกำกับของกระทรวง
            ***(มาตรานี้เกิดพระราชบัญญัติสภาครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ )

            ม. ๕๔ ให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู
            ***(มาตรานี้เกิดพระราชบัญญัติระเบียบครู และบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗)

            ม.๕๕ ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ
            ***(มาตรานี้เกิดพระราชบัญญัติเงินเดือน  เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๗)

หมวด ๘ ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
            ม.๕๙ สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจ ในการปกครอง ดูแล บำรุง รักษาใช้ และจัดหาผลโยชน์จากทรัพย์ของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นราชพัสดุ
            บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลได้มาโดยมี ผู้อุทิศให้หรือโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษา ไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ และให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา
            บรรดารายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษาของรัฐที่เป็น นิติบุคคล รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดจาก ที่ราชพัสดุ เบี้ยปรับที่เกิดจาดการผิดสัญญาลาศึกษา และเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญา การซื้อทรัพย์สินหรือจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ
            ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง

หมวด ๙ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา






กฎกระทรวงว่าด้วยการแบ่งระดับและประเภทของ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๖
        ๑. การศึกษาในระบบที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้
                        (๑) การศึกษาระดับก่อนประถม โดยปกติเป็นการจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีอายุสามปีถึงหกปี เพื่อเป็นการวางรากฐานชีวิตและการเตรียมความพร้อมของเด็กทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา บุคลิกภาพ และการอยู่ร่วมในสังคม
                        (๒) การศึกษาระดับประถม เป็นการศึกษาที่มุ่งวางรากฐานเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งในด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถขั้นพื้นฐาน โดยปกติใช้เวลาเรียนหกปี
                        (๓) การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งออกเป็น สองงระดับดังนี้
                               มัธยมศึกษาตอนต้น  มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆต่อจากระดับประถม เพื่อให้รู้ความต้องการความสนใจและความถนัดของตนทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนความสามารถในการประกอบการงานและอาชีพตามควรแก่วัย โดยปกติใช้เวลาเรียนสามปี
                               มัธยมศึกษาตอนปลาย  มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาตามความถนัดและความสนใจ เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาต่อหรือการประกอบชีพ รวมทั้งการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและทักษะทางด้านสังคมที่จำเป็น โดยปกติใช้เวลาเรียนสามปี










พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๖
            เกิดจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๔๕  หมวด ๕ การบริหารและการจัดการศึกษา
            ให้ไว้              ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๖
            ประกาศ         ๖ กรกฎาคม  ๒๕๔๖
            บังคับ             ๗ กรกฎาคม  ๒๕๔๖
    ผู้รับสนอง  พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี)
           
            มีทั้งหมด  ๕ หมวด ๑ บทเฉพาะกาล  จำนวน  ๘๒  มาตรา
            หมวด ๑ ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
            หมวด ๒ ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
            หมวด ๓ ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
            หมวด ๔ การปฏิบัติราชการแทน
            หมวด ๕ การรักษาราชการแทน
           
            ม. ๖ ให้จัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
                        (๑) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
                        (๒) ระเบียบบริหารราชการเขตพ้นที่การศึกษา
                        (๓) ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล




หมวด ๑ การจัดการระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
            ม.๙ ให้จัดระเบียบบริหารราชการในส่วนราชกลาง ดังนี้
            (๑) สำนักงานปลัดกระทรวง
            (๒) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

            ม.๑๐ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา ดังนี้
                        (๑) สำนักงานรัฐมนตรี                    (ไม่มีฐานะเป็นกรม และไม่เป็นนิติบุคคล)
                        (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
                        (๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
                        (๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        (๕) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
                        (๖) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
 ส่วนราชการตาม (๒),(๓),(๔),(๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคล และ กรม

            ม. ๑๒ กระทรวงศึกษาธิการมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ

            ม. ๑๔ ให้มีสภาการศึกษา มีหน้าที่ (ไม่เกิน ๕๙ คน)
            (๑) พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ
            (๒) พิจารณาเสนอนโยบา แผน และมาตรฐานการศึกษาเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแผน
            (๓) พิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
            (๔) ดำเนินการประเมินผลการจัดการศึกษา
            (๕) ให้ความเห็นเห็นหรือคำแนะนำในเรื่องกฎหมายและกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการศึกษา
            ***การเสนอนโยบาย แผนการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษา ให้เสนอต่อ คณะรัฐมนตรี
            ให้คณะกรรมการสภาการศึกษา ประกอบด้วย รัฐมนตรีเป็นประธาน

            ม.๑๕ ให้มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ไม่เกิน ๒๗ คน) มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ

            ม.๑๙ สำนักงานรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมืองมี เลขานุการรัฐมนตรี ซึ่งเป็นข้าราชการการเมือเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานรัฐมนตรี

            ม.๒๐ ให้กระทรวงศึกษาธิการมีผู้ตรวจราชการของกระทรวง เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจราชการ ศึกษาวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลระดับนโยบาย เพื่อนิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อการปรับปรุงพัฒนา
            ระดับสำนักงานคณะกรรมการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ให้ทำหน้าที่ติดตามและประเมินนโยบายตามภารกิจ ตลอดจนนิเทศ ให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อปรับปรุงพัฒนา
            ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ให้เป็นการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย นิเทศ ติดตาม และประเมินผล การบริหารและการดำเนินการโดยมุ้งเน้นผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
            เพื่อการเตรียมการรับการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก

            ม.๒๑ ให้กระทรวงศึกษาธิการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

            ม.๒๒ ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาตามมาตรา ๓๓  ไม่อาจบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานบางประเภทได้สำนักงานปลัดกระทรวงหรือสำนักงานต่างๆ อาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาดังต่อไปนี้
            (๑) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
            (๒) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย
            (๓) การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
            (๔) การจัดการศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา
            (๕) การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาในรูปแบบวิทยาลัยชุมชนและรูปแบบอื่น

            ม.๒๙ ให้ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตามมาตรา ๑๐ (๓)(๔)(๕) และ(๖) มีเลขาธิการซึ่งมีฐานะเทียบเท่าปลัดกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการนั้น

หมวด ๒ การจัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา
        ม. ๓๓ การบริการและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึง ระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการ
อาชีวศึกษา
            ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยคำแนะนำของสภาการศึกษามีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
            (๒๒๕ เขต มัธยม ๔๒ ประถม ๑๘๓)

           
            ม. ๓๔ ให้จัดระเบียบบริหารราชการของเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้
            (๑) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
            (๒) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วนราชการทีเรียกชื่ออย่างอื่น

            ม.๓๕ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตาม มาตรา ๓๔(๒) เฉพาะที่เป็นโรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล
            เมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษาตามวรรคหนึ่ง ให้ความเป็นนิติบุคคลสิ้นสุดลง

            ม.๓๖ ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาให้มี คณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ ในการกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา
            ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุน สถานศึกษาเอกชน
            ประสาน และส่งเสริม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
            ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษา ของบุคคล ครอบครัว
                        คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
                        เขตประถม                ๑๗  คน
                        เขตมัธยม                  ๑๕  คน
            ผอ.เขต เป็นกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการเขต

            ม.๓๗ ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        โรงเรียนขนาดเล็ก นร.ไม่เกิน ๓๐๐ คน  มี  ๙ คน
                        โรงเรียนขนาดใหญ่ นร.เกินกว่า  ๓๐๐ คน มี ๑๕  คน

หมวด ๔ การปฏิบัติราชการแทน
            ม.๔๔ ให้มีปลัดกระทรวง เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคระกรรมการการอาชีวศึกษา กระจายอำนาจการบริหารแลการจัดการศึกษาทั้ง ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยัง คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรง

            ม.๔๕ อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการ
ใช้การปฏิบัติราชการแทน(การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือ)

            ม.๔๖ เมื่อมีการมอบอำนาจตามมาตรา ๔๕ โดยชอบแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น และจะมอบอำนาจนั้นให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่ กรณีการมอบอำนาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด

หมวด ๕ การรักษาราชการแทน


















พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

เกิดจาก          พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
                        แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖   มาตรา  ๕๓
ประกาศ         ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๖
บังคับ             ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๖
ผู้รับสนอง     พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี)
มีทั้งหมด ๔ หมวด ๑ บทเฉพาะการ จำนวน ๙๐ มาตรา
หมวด ๑ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
หมวด ๒ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
หมวด ๓ การกำกับดูแล
หมวด ๔ บทกำหนดโทษ
            บทเฉพาะการ

            ม.๔  นิยาม
            วิชาชีพ หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีต่างๆ
            ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา  และบุคลากรทางการศึกษาอื่น
            ครู หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งสองของ รัฐและเอกชน
                ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน หรืออุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน  
            ผู้บริหารการศึกษา  หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
            บุคลากรทางการศึกษาอื่น หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษาให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา
            หน่วยงานการศึกษา  หมายความว่า สถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่กำกับ ดูแล สนับสนุน ส่งเสริมให้บริการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
            สถานศึกษา  หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
            ใบอนุญาต  หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
            ม. ๗ ให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คุรุสภา มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
            ม.๘ คุรุสภามีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
            (๑) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
            (๒) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
            (๓) ประสาน ส่งเสริม การศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ

            ม.๙ คุรุสภามีอำนาจหน้าที่
            (1) กำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
             (2) ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
            (3) ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
            (4) พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
            (5) สนับสนุนและพัฒนาวิชาชีพ
            (6) ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
            (7) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
            (8) รับรองความรู้ประสบการณ์ ในการประกอบวิชาชีพ
            (9) ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
            (10) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
            (11)ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
                        (ก) การกำหนดลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13 
                        (ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ 
                        (ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
                        (ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
                        (จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณ 
                        (ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
                        (ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
                        (ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
                        (ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา และ
                        (ญ) การใด ๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
            (12) ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาวิชาชีพ
            (13) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือ การออกกฎกระทรวง ระเบียบ
            (14) กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา และ
            (15) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
            การเสนอร่างข้อบังคับคุรุสภา
               จะกระทำได้เมื่อคณะกรรมการคุรุสภามีมติเห็นชอบกับร่างข้อบังคับดังกล่าว และให้ประธานกรรมการคุรุสภาเสนอร่างข้อบังคับนั้นต่อรัฐมนตรีโดยไม่ชักช้า รัฐมนตรีอาจยับยั้งร่างข้อบังคับนั้นได้ แต่ต้องแสดงเหตุผลโดยแจ้งชัด

            ม.๑๐ คุรุสภามีรายได้
                (1) ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
            (2) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
            (3) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
            (4) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา และ
            (5) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) และ (4)
            รายได้ของคุรุสภา ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฎหมายภาษีอากร

ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการคุรุสภา
        ม.๑๒ คณะกรรมการคุรุสภาประกอบด้วย (๓๙  คน)
            (1) ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
                        (ดร.ดิเรก  พรสีมา )                                                 
            (2) กรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน ได้แก่
                        ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
                        เลขาธิการสภาการศึกษา
                        เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
                        เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 
                        เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
                        เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 
                        ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
                        หัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วน                                  ท้องถิ่น
            (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่ประสบการณ์สูง ด้านละ 1 คน รวม 7 คน 
            (4) กรรมการจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเลือกตั้งกันเอง 4 คน จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 3 คน และเอกชน 1 คน
            (5) กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเลือกตั้งจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารทางการศึกษา และมาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามสัดส่วนจำนวน     ผู้ประกอบวิชาชีพ19 คน และ
            (6) เลขาธิการคุรุสภา  เป็นเลขานุการ
                        (นายองค์กร  อมรสิรินันท์)

            ม.๑๓ ประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป
            (๑) มีสัญชาติไทย
            (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
            (๓) มีความซื่อสัตย์และยุติธรรมเป็นที่ประจักษ์
            ม.๑๔ กรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู
            (๑) เป็นผู้มีใบอนุญาตและไม่เคยถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
            (๒) เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วรวมกัน ไม่น้อยกว่า สิบปี หรือดำรงตำแหน่ง อาจารย์ ๓หรือมีวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการ

            ม.๑๕ กรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า สิบปี

                ม.๑๖ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการคุรุสภา  
             ให้กรรมการตามข้อ  (1) (3) (4) และ (5) ในมาตรา ๑๒อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีก แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้

            ม.๒๐ ให้คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่
            (1) บริหารตามอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
            (2) ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
            (3) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา 54 
            (4) เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
            (5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
            (6) ควบคุมดูแลการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบข้อบังคับ  หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา


ส่วนที่ ๓ คณะมาตรฐานวิชาชีพ
            ม.๒๑ ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพประกอบด้วย
                (1) ประธานกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา  (นายนิยม  ศรีวิเศษ)
            (2) กรรมการโดยตำแหน่ง คน   ได้แก่
                        เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ
                        เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
            (3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิึ่งคณะกรรมการคุรุสภาสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิสูงด้านการศึกษา การบริหารและกฎหมาย  คน 
            (4) กรรมการจากคณาจารย์ในคณะศึกษาศาสตร์  ทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งเลือกกันเอง2 คน
            (5) กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเลือกตั้งจาก ผู้ที่ดำรงตำแหน่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3รือ มีวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการขึ้นไป 6  คน  ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและ   มีประสบการณ์ในตำแหน่งไม่น้อยกว่า 10 ปี  ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งไม่น้อยกว่า 10 ปี และ บุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์   ในตำแหน่งไม่น้อยกว่า 10 ปี  และ
             (6) เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการ

                อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกแต่จะดำรงตำแหน่งเกิน
2 วาระติดต่อกันไม่ได้

            ม. ๒๕ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
            (1) พิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต   
            (2) กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ 
            (3)  พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
            (4) ส่งเสริม  และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศ    
            (5) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
            (6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และ
            (7) พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการคุรุสภามอบหมาย ให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเสนอรายงานการดำเนินงานประจำปีต่อคณะกรรมการคุรุสภาตามระเบียบที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนดให้มีสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา (มาตรา 34) โดยมีเลขาธิการคุรุสภาบริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน (มาตรา 35-42)

ส่วนที่ ๔ การดำเนินงานของคุรุสภา
            ม.๓๖ คุณสมบัติทั่วไปของเลขาธิการคุรุสภา
                        (มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบรูณ์และไม่เกินหกสิบห้าปี)
           
            ม.๓๙ เลขาธิการคุรุสภามีหน้าที่
            (๑) ดูแลรักษาทะเบียนผู้ได้รับใบอนุญาต

ส่วนที ๕ การประกอบวิชาชีพควบคุม
            ม. ๔๓ ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต เว้นแต่
            (1) วิทยากรพิเศษทางการศึกษา
            (2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
            (3)  นักศึกษา หรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งฝึกหัดในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา 
            (4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
            (5) ผู้สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด                        (6) คณาจารย์ ผู้บริหารในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน                     (7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา และ
            (8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
            ***(ฝ่าฝืน จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน สองหมื่น
            หรือทั้งจำทั้งปรับ)

            ม.๔๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
            (ก) คุณสมบัติ
                        (1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
                        (2) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า
                        (3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอน
            (ข) ลักษณะต้องห้าม
                                (1) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
                        (2) เป็นคนไร้ความสามารถ
                        (3) เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

            ม.๔๕ การขอรับใบอนุญาต
                การออกใบอนุญาต การกำหนดอายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา (มาตรา 45) ผู้ขอรับใบอนุญาต ขอต่ออายุใบอนุญาต ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต ตามวรรคหนึ่ง อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง

            ม.๔๖ ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาต เข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา

            ม.๔๘ ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพตามข้อบังคับของคุรุสภา

            ม.๔๙ ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ  ประกอบด้วย
            (๑) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
            (๒) มาตรฐานการปฏิบัติงาน
            (๓) มาตรฐานการปฏิบัติตน (จรรยาบรรณของวิชาชีพ)
           
            ม.๕๐   มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประกอบด้วย
            () จรรยาบรรณต่อตนเอง
            () จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
            () จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
            () จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
            () จรรยาบรรณต่อสังคม
            การกำหนดแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
            ม. ๕๑ บุคคลซึ่งได้รับความเสียหาย จากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพของ
ผู้ได้รับใบอนุญาตมีสิทธิกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตผู้นั้นโดยทำเรื่องยื่นต่อคุรุสภา
            กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรือบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพว่าผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ โดยแจ้งเรื่องต่อคุรุสภา
            สิทธิการกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง หรือสิทธิการกล่าวโทษตามวรรคสองสิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพดังกล่าวและรู้ตัวผู้ประพฤติผิด
            การถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษที่ได้ยื่นไว้แล้วนั้นไม่เป็นเหตุให้ระงับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

            ม. ๕๒ เมื่อคุรุสภาได้รับเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษตามมาตรา ๕๑ ให้เลขาธิการคุรุสภาเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพโดยไม่ชักช้า

            ม. ๕๓            ให้ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ พร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนเริ่มพิจารณา
            ผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษมีสิทธิทำคำชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานใด ๆ ส่งให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรืออนุกรรมการ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรือภายในเวลาที่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพกำหนด

            ม. ๕๔  คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
            () ยกข้อกล่าวหา
            () ตักเตือน
            () ภาคทัณฑ์
            () พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินห้าปี
            () เพิกถอนใบอนุญาต

            ม. ๕๕   ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๕๔ () () () หรือ () อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
            การอุทธรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
            คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการคุรุสภาให้ทำเป็นคำสั่งคุรุสภา พร้อมด้วยเหตุผลของการวินิจฉัยชี้ขาด

            ม. ๕๖ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพควบคุมนับแต่วันที่ทราบคำสั่งใช้ใบอนุญาตนั้น
            ***(ฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

            ม. ๕๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนจะยื่นขออีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอน





ส่วนที่ ๖
สมาชิกคุรุสภา
            ม.  ๕๘  สมาชิกของคุรุสภามีสองประเภท  ดังนี้
              ()   สมาชิกสามัญ
              ()   สมาชิกกิตติมศักดิ์

            ม.  ๖๑   สมาชิกภาพของสมาชิกย่อมสิ้นสุดเมื่อ
             ()  ตาย
             ()  ลาออก
             () คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๕๙ สำหรับกรณีสมาชิกสามัญ
            ()  คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
            ()  ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

หมวด ๒
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู
และบุคลากรทางการศึกษา (ส.ก.ส.ค.) (๒๓ คน)
------------------------
ส่วนที่ ๑
บททั่วไป

ม. ๖๒  ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำหน้าที่บริหารงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์  ดังต่อไปนี้
            ()  ส่งเสริมสวัสดิการ  สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น และความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
            ()  ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
            () ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงในเรื่องสื่อการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์การศึกษาและเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา
            ()  ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา  การดำเนินงานด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพและผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา

ม. ๖๔  ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ประกอบด้วย
            ()  ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ   เป็นประธาน
            ()  กรรมการโดยตำแหน่ง(๗)  ได้แก่  เลขาธิการสภาการศึกษา  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา  เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคุรุสภา  และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
            () กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  จำนวนสามคน  ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในด้านสวัสดิการสังคม  บริหารธุรกิจ และกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน
            () กรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนสิบสองคน  ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
            ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ


ส่วนที่ ๒
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

            ม. ๖๗  ให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ

หมวด ๓
การกำกับดูแล
ม. ๗๕   ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้  
                  () กำกับดูแลการดำเนินงานของคุรุสภา  และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา  รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณของรัฐให้คุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
                  ()สั่งเป็นหนังสือให้กรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของคุรุสภาและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาและจะให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ได้

หมวด ๔
บทกำหนดโทษ
—————
            ม. ๗๘  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓  จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี  หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

            ม. ๗๙  ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๖  หรือมาตรา ๕๖   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ


พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. ๒๕๔๗
            สืบเนื่องจากมาตรา  81  แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย  ..2540  กำหนดไว้ว่า  รัฐต้องจัดการศึกษาอบรม........  จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ  ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม........  จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ..  2542 ขึ้น     เพื่อกำหนดให้มีการจัดระบบข้าราชการครู  คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษาขึ้นใหม่  ตามที่บัญญัติไว้ในหมวด  7  โดยเฉพาะในมาตรา  54  ได้กำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งของหน่วยงานการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐและระดับเขตพื้นที่การศึกษา  เป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา   โดยยึดหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่ส่วนราชการที่บริหารและจัดการศึกษา  เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา  จึงเห็นควรกำหนดให้บุคลากรที่ทำหน้าที่ด้านการบริหารและการจัดการศึกษาสังกัดอยู่ในองค์กรกลางบริหารงานบุคคลเดียวกัน  และโดยที่องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและระบบการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู  ..  2523  ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน  มีหลักการที่ไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542   ที่ให้ยึดหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา  และเพื่อให้เอกภาพทางด้านนโยบายการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด   และในมาตรา 55 ได้กำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน  ค่าตอบแทน  สวัสดิการ  และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น  สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  เพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ..2547  ขึ้น 




ฉบับที่ ๑        
ประกาศ         ๒๓ ธันวาคม  ๒๕๔๗
บังคับ             ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗
ผู้รับสนอง     นายวิษณุ  เครืองาม

ฉบับที่ ๒
ประกาศ         ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
บังคับ             ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ผู้รับสนอง     พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์

ฉบับที่ ๓
ประกาศ         ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๓
บังคับ             ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๓
ผู้รับสนอง     นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ

มีทั้งหมด ๙ หมวด ๑ บทเฉพาะกาล จำนวน ๑๔๐ มาตรา
หมวด ๑ คณะกรรมการบริหารงานบุคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
หมวด ๒ บททั่วไป
หมวด ๓ การกำหนด ตำแหน่ง วิทยฐานะ และการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง
หมวด ๔ การบรรจุแต่งตั้ง
หมวด ๕ การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
หมวด ๖ วินัย และการรักษาวินัย
หมวด ๗ การดำเนินการทางวินัย
หมวด ๘ การออกจากราชการ
หมวด ๙ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์

           
            ม.๔ นิยาม
            ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  หมายความว่า  บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดินงบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนใน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม
            ข้าราชการครู หมายความว่า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาของรัฐ
            คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ
            บุคลากรทางการศึกษา  หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษา  ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติการเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ การบริหารการศึกษา และปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานทางการศึกษา
            ***(ครู ไม่ใช่บุคลากรทางการศึกษา   เพราะครู คือผู้สอน)
            วิชาชีพ  หมายความว่า วิชาชีพครู วิชาชีพบริหารการศึกษา และวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น
            เขตพื้นที่การศึกษา  หมายความว่า เขตพื้นที่การศึกษาตามประกาศกระทรวง


หมวด ๑ คณะกรรมการบริหารงานบุคลของข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา
            ม.๗ ให้มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการาศึกษาคณะหนึ่ง  เรียกว่า  "คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา"
เรียกโดยย่อว่า "ก.ค.ศ." (๓๑ คน)
            (๑) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นประธานกรรมการ
            (๒) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ                  เป็นรองประธาน
           
            (๓) กรรมการโดยตำแหน่ง แปดคน­ (๘)
                        - ปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
                        - ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
                        - เลขาธิการ ก.พ.
                        - เลขาธิการ ก.พ.ฐ.
                        - เลขาธิการ อาชีวศึกษา
                        - เลขาธิการ อุดมศึกษา
                        - เลขาธิการ ก.ค.ศ.
                        - เลขาธิการ คุรุสภา
            (๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเก้าคน (๙)
            (๔)กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง จำนวน สิบสองคน (๑๒)
                        - ผอ. เขต ประถม                               คน
                        - ผอ. เขต มัธยม                                  คน
                        - ผอ. โรงเรียน ประถม                      คน
                        - ผอ. โรงเรียน มัธยม                         คน
                        - ผู้แทนครู ประถม                             คน
                        - ผู้แทนครู  มัธยม                               คน
                        - ผู้แทนครู อาชีวศึกษา                      คน
                        - ผู้แทนครู สังกัด สำนักปลัด
                          สกอ. ก.ท่องเที่ยวและกีฬา                         คน
                          ก.วัฒนธรรม                                   
                        - ผู้แทนศึกษานิเทศก์ ประถม           คน
                        - ผู้แทนศึกษานิเทศก์ มัธยม                          คน

            ม. ๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
            (๑) มีสัญชาติไทย
            (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ และไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
            (๓) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
            (๔) ไม่เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
            (๕) ไม่เป็นเจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษา หรือผู้มีตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
            (๖) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในเรื่องความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม และไม่เคยมีประวัติ เสื่อมเสียทางจริยธรรม จรรยาบรรณ และการประกอบวิชาชีพ

            ม.๑๐ กรรมการผู้บริหารสถานศึกษา
            - มีประสบการณ์ในตำแหน่งด้านบริหารสถานศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ห้า ปี
           
            ม.๑๑ กรรมการผู้แทนข้าราชการครู
            - มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนในวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการหรือเทียบเท่า หรือมีประสบการณ์สอนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า สิบห้าปี
           
            ม.๑๒ กรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น
            - มีวุฒิทางการศึกษาไม่ตำกว่าปริญญาตรี
            - มีประสบการณ์ด้านสนับสนุนการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า สิบห้าปี

            ม.๑๓ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี แต่จะตำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้

            ม.๑๔ นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
            (๑) ตาย
            (๒) ลาออกโดยยื่นใบลาออกต่อกรรมการ
            (๓) เป็นบุคลล้มละลาย
            (๔) เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
            (๕) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๘
            (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดละหุโทษ
            (๗) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก

            ม.๑๕ กรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
            (๑) ตาย
            (๒) ลาออกโดยยื่นหนังสือต่อประธานกรรมการ
            (๓) พ้นจากการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
            (๔)ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๙,๑๐ ,๑๑ และ ๑๒
            (๕) ถูกถอดถอนโดยรัฐมนตรีตามมติของ ก.ค.ศ. ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการทั้งหมด

            ม. ๑๙ ก.ค.ศ. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
            - พิจารณาตั้ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย
            - พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิดและควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

            ม.๒๐ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกโดยย่อว่า "สำนักงาน ก.ค.ศ." โดยมี เลขาธิการ ก.ค.ศ. มีฐานะเป็นอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชา

            ม.๒๑ ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา เรียกโดยย่อว่า "อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา"  (๑๐ คน) ประกอบด้วย
            (๑) ประธานอนุกรรมการซึ่งอนุกรรมการเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคนโดยเลือกจากอนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
            (๒) อนุกรรมการโดยตำแหน่ง ๒ คน ได้แก่ ผู้แทน ก.ค.ศ.  และ ผู้แทนคุรุสภา
            (๓) อนุกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๔คน
           
            (๔) อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (๓  คน)
                        -ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา                         คน
                        -ผู้แทนข้าราชการครู                                                  คน
                        -ผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น(ศึกษานิเทศก์)             คน
            ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

            ม.๒๔ ให้ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
            (๑)พิจารณากำหนดนโยบายบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น